สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคลตรัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.
เต่าตนุ
ชื่ออังกฤษ : Green turtle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chelonia mydas (Linnaeus, 1758)
ชื่ออื่นๆ
เต่าแสงอาทิตย์
สถานภาพ
– สัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ. สงวนและคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535
– IUCN: Endangered
– CITES: Appendix I
ลักษณะทั่วไป
จะงอยปากค่อนข้างทู่เมื่อเปรียบเทียบกับเต่ากระ มีรอยหยักขนาดเล็กอยู่บนริมฝีปากทั้งบนและล่าง เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามีจำนวน 1 คู่ มีเกล็ดกลางหลัง จำนวน 5 เกล็ด เกล็ดแถวข้าง คู่แรกสุดไม่ติดกับเกล็ดขอบคอ มีจำนวน 4 คู่ ลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อนกัน กระดองสีน้ำตาลเหลือบขาวและดำ โตเต็มที่ยาว 120 ซม. หนัก 150 กก.
ชีวประวัติและพฤติกรรม
เต่าตนุเพศเมียเต็มวัยวางไข่ทุก 2 ปี โดยเริ่มวางไข่ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 14-25 ปี สามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่มีช่วงสูงสุดระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เต่าตนุเพศผู้สามารถผสมพันธุ์กับเพศเมียได้หลายตัว และเต่าตนุเพศเมียสามารถผสมพันธุ์กับเพศผู้ได้หลายตัวเช่นกัน
อาหาร
วัยเด็กกินทั้งพืชและสัตว์น้ำเล็กๆ เป็นอาหาร ส่วนเต่าโตเต็มวัยกินพืชเป็นหลัก ได้แก่ สาหร่ายทะเล และหญ้าทะเล
ถิ่นอาศัยและการแพร่กระจาย
พบในเขตร้อนและกึ่งร้อน ตามแนวชายฝั่ง แหล่งหญ้าทะเลและเกาะ ประเทศไทยพบการแพร่กระจายในธรรมชาติ ทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
แหล่งวางไข่
ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ เกาะคราม จ.ชลบุรี และเกาะกระ จ.นครศรีธรรมราชส่วนฝั่งอันดามัน ได้แก่ เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ (เกาะตอริลลา เกาะสต็อก) เกาะระ เกาะพระทอง เกาะคอเขา จ.พังงา และหมู่เกาะอาดังราวี จ.สตูล
ตารางคำเรียกชื่อพะยูนต่างๆ และการนำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่างๆ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
ที่ตั้ง : 179 หมู่ 3 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92150
โทรศัพท์จองการเข้าชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
(Aquarium) : 098-016-1076
อีเมล์จองเข้าชม Aquarium : nrei.ticket@gmail.com